จากเหตุการณ์เสียชีวิตของคนงานจำนวนหนึ่งที่กำลังติดตั้ง ที่แขวนท่อในห้องเก็บเอกสาร เป็นสถานที่เกิดเหตุพ่นสารดับเพลิงชนิด Aerosol ที่่ผ่านมา สันนิษฐานว่าเกิดจากการเจาะคอนกรีตแล้วทำให้เกิดฝุ่น และฝุ่นดังกล่าวไปกระตุ้นให้อุปกรณ์ตรวจจับควันทำงานถึง 2 วงจรหรือ 2 โซน (ตามหลักการ Cross Zone) จึงทำให้ระบบ Fixed Aerosol Fire
Extinguishing System พ่นสารดับเพลิงโดยเข้าใจผิดว่าฝุ่นคือ ควันไฟจากเพลิงไหม้ ในเหตุการณ์นีสั้ญญาณเตือนภัยทำงานตามปกติตามขั้น ตอนแต่คนงานที่กำลังทำงานอยู่ภายในห้องไม่สามารถหนีออกมาได้ทันเวลา ซึ่งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นเสียงสัญญาณเตือนภัยธรรมดา
สารดับเพลิง Aerosol นี้ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มสารสะอาดหรือ Clean Agent สารดับเพลิงพิเศษทััง สองนี้ได้ถูกนำมาเสนอมาทดแทน Halon 1301 ที่กำลังยกเลิกการให้ใช้เมื่อกว่า 20 ปีก่อนหน้านี้ และกลไกการดับเพลิงไม่ใช่การลดออกซิเจน แต่เป็นการยับยั้งปฎิกิริยาลูกโซ่ด้วยใช้โปตัสเซียม (K) อะตอม จับ O, H, OH อะตอมออกจากกระบวนการสันดาป ความเข้มข้นประมาณ 100 กรัมต่อลูกบาศก์เมตรคนสามารถอยู่สถานที่นั้น นานถึง 5 นาทีโดยไม่เสียชีวิต และอาจอยู่ได้ถึง 15 นาทีขึ้น อยู่กับความแข็งแรงของแต่ละคน หากขาดออกซิเจนจะเสียชีวิตเร็วกว่านี้ ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ได้หายใจผงฝุ่น Aerosol นี้เข้าไปมากเกินกำหนดและสัมผัสสารดังกล่าวเป็นเวลานานเกิน 15 นาที
ระบบดับเพลิงลักษณะนี้เรียกว่า Total Flooding คือ การพ่นสารดับเพลิงท่วมทั้งห้องและรักษาระดับความเข้มข้นไว้ระยะเวลาหนึ่งตามที่มาตรฐานกำหนด เพื่อสมรรถนะในการดับเพลิงที่กำลังลุกไหม้ การออกแบบจึงจำเป็นต้องระวังไม่ให้ความเข้มข้นต่ำกว่าค่าที่มาตรฐานกำหนด จึงต้องระวังเรื่องจุดรั่วตามผนังพื้นและเพดาน นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องระวังเรื่่องปริมาณสารดับเพลิงที่สูงเกินไป ดังนั้น จะต้องมีการคำนวณปริมาณสารดับเพลิงที่ละเอียดรอบครอบหลักการทำงานของระบบดับเพลิงลักษณะนี้จะต้องทำงานร่วมกับระบบตรวจจับและแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งต้องมีวงจรตรวจจับเพลิงไหม้อย่างน้อย 2 วงจร การสั่งให้พ่นสารดับเพลิงจะต้องตรวจจับเพลิงไหม้ได้ทั้ง 2 วงจร แผงควบคุมจึงจะสั่ง
ให้ระบบพ่นสารดับเพลิงออกมา (เรียกกันว่า Cross Zone เพื่อป้องกันการพ่นสารผิดพลาด) กล่าวคือ เมื่อวงจรที่ 1ตรวจจับเพลิงไหม้ได้ แผงควบคุมจะแจ้งเตือนที่หน้าแผงควบคุมและห้องที่จะพ่นสารดับเพลิงทันทีด้วยเสียง (ปกติจะเป็นกระดิ่ง) เพื่อให้คนอพยพและเจ้าหน้าที่รีบทำการดับเพลิงด้วยถังดับเพลิงแบบมือถือก่อนไฟจะลุกลาม กรณีนี้จะยังไม่มี
การพ่นสารดับเพลิงอัตโนมัติ แต่หากเจ้าหน้าที่ควบคุมเพลิงไม่ได้หรือบริเวณนั้น ไม่มีคนอยู่เข้าไปดับเพลิงด้วยถังดับเพลิงแบบมือถือ ซึ่งทำให้เพลิงไหม้ขยายลุกลามต่อไปจนวงจรตรวจจับที่ 2 ก็จะตรวจจับเพลิงไหม้ได้ แผงควบคุมระบบก็จะเริ่มนับเวลาถอยหลัง ปกติจะตั้ง ค่าไว้ไม่เกิน 60 วินาทีและส่งสัญญาณเตือนภัยด้วยเสียงและแสง (ปกติเสียงออดหรือไซเรน
และไฟกระพริบ) เมื่อนับถอยหลังจนถึงศูนย์ ระบบดับเพลิงจะพ่นสารดับเพลิงท่วมทั้งห้องนั้น ๆทันที แต่อย่างไรก็ตามในขั้นตอนนับถอยหลังนี้หากเจ้าหน้าที่ต้องการขยายเวลาเพื่อยับยั้งการพ่นสารดับเพลิงก็สามารถกดปุ่ม Abort Switch ค้างไว้ได้เพื่อหยุดเวลาและนับเวลาใหม่ได้เมื่อปล่อยปุ่มกด
การเลือกใช้สารดับเพลิง Aerosol ต้องระมัดระวังอย่าคิดว่าไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ติดตั้งง่าย หรือราคาถูกกว่าชนิดอื่นๆเท่านั้น สารดับเพลิง Aerosol นี้มีข้อควรระวังและเงื่อนไขหลายประการ ดังนี้
- Thermal Hazard เพราะถังบรรจุ Potassium Nitrate ไว้กว่า 60% เมื่อทำงานจะมีการระเบิดในถังเสียงดังภายในถังร้อนมากกว่า 500 oC และที่ผิวด้านนอกถังอาจสูงกว่า 250 oC และ Aerosol ที่พ่นออกมาต้องผ่าน Coolant เพื่อลดอุณหภูมิลง และมีข้อกำหนดว่าอย่าวางสิ่งของที่ติดไฟได้ง่ายไว้ใต้หัวพ่นในระยะห่างที่กำหนด
- High Obscuration เมื่อพ่นออกมาจะมีผงสีขาวทึบแสงฟุ้งลอยท่วมทั้ง ห้องนานถึง 1 ชั่วโมง จะเป็นอันตรายทั้งคนที่ติดค้างภายในและคนที่เข้าไปช่วย ถึงแม้มาตรฐาน NFPA 2010 จะยอมให้ใช้กับพื้นที่ที่มีคนใช้สอยปกติได้ แต่ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าไม่เหมาะกับสถานที่ที่มีคนอยู่ประจำ เพราะมาตรฐานกำหนดให้ผู้เลือกใช้ต้องมีความรู้
ความสามารถ (skilled and qualified persons) ต้องพิจารณาความเป็นอันตรายได้ และมีเงื่อนไขอีกหลายประการที่ต้องพึงระวังในการออกแบบ การติดตั้ง และการบำรุงรักษา ที่ผ่านมาทราบและรับรู้มาตลอดว่าสารดับเพลิง Aerosol นี ้มักจะถูกออกแบบให้ใช้ในแผงสวิตช์ไฟฟ้า เครื่องจักรกล ตู้ Equipment Rack Server Rack หรือ Cubicle เท่านั้นการออกแบบให้ใช้พ่นท่วมทั้ง ห้องใช้งาน (Total Flooding) ซึ่งก็หมายถึงพ่นท่วมเส้นทางหนีไฟด้วย ผู้เขียนมีความเห็นว่าค่อนข้าง
อันตรายหากทำให้มองไม่เห็นเส้นทางหนีไฟ
- สารดับเพลิง Aerosol นีมี้อายุการใช้งานประมาณ 10 ปี แตกต่างจากสารดับเพลิงพิเศษอื่นๆที่ไม่มีเวลาหมดอายุการใช้งานหรือมีแต่นานมาก ผู้ดูแลอาคารมักจะลืมเปลี่ยนและไม่ได้ตั้งงบประมาณในการเปลี่ยน
- เมื่อพ่นสารออกมาแล้ว และโดนนำ้ คุณสมบัติ Aerosol ที่เปียกนี้จะมีค่า Conductivity สูงขึน้ และนำไฟฟ้าได้ดีขึ้นส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์หรือ Short Circuit ได้
ระบบดับเพลิงด้วยสารสะอาดหรือ Aerosol แบบ Total Flooding นี้มีทั้งคุณและโทษอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ทุกชนิด ภายใต้กฎเกณฑ์เงื่อนไขการออกแบบ การติดตั้ง และการบำรุงรักษามากมาย รวมทั้ง ระยะเวลาที่คนสัมผัสสารดับเพลิง ระบบดับเพลิงลักษณะนีมี้ราคาแพงมากประมาณ 10,000 – 15,000 บาทต่อตารางเมตร ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องจะเป็น
ต้องพิจารณาให้ดี ผู้เขียนขอแนะนำให้พิจารณาสารดับเพลิงด้วยน้ำ เป็นลำดับแรกก่อน เพราะอย่างไรก็ตามน้ำ ก็ยังเป็นSuppression Agent ที่มีสมรรถนะในการดับเพลิงได้ดีที่สุด รวมทั้ง เป็นสารดับเพลิงที่มีราคาถูกที่สุดด้วย เช่น การใช้ระบบสปริงเกลอร์หรือระบบหัวกระจายน้ำ ดับเพลิงแบบท่อเปียก (Wet Pipe, Automatic Sprinkler System) หรือหากกลัว
อันตรายหรืออาจเกิดความเสียหายจากน้ำดับเพลิง ก็สามารถเลือกระบบเป็นแบบท่อแห้งชะลอน้ำเข้า (Pre Action) หรือระบบดับเพลิงแบบหมอกนำ้ (Water Mist System) ได้
ข้อแนะนำสำหรับผู้ออกแบบและเจ้าของอาคาร
- ควรเลือกระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยน้ำ เป็นลำดับแรก คือ ระบบสปริงเกลอร์หรือระบบหัวกระจายน้ำ ดับเพลิงแบบท่อเปียก (Wet Pipe) และออกแบบตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย(วสท.3002) หรือ National Fire Protection Association (NFPA 13)
- ห้องที่อาจได้รับความเสียหายจากน้ำดับเพลิงหากทำงานผิดพลาด เช่น ห้อง Sever room ก็ยังสามารถเลือกใช้ระบบสปริงเกลอร์หรือระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงได้แต่อาจเปลี่ยนเป็นชนิดท่อแห้งชะลอน้ำเข้า (Pre ActionDry Pipe) ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำ จากอุบัติเหตุได้
- กรณีจำเป็นอย่างยิ่งยวดต้องใช้สารดับเพลิงพิเศษที่ไม่ใช่น้ำ และเป็นการฉีดท่วมทั้ง ห้อง (Total Flooding) ให้ใช้สารดับเพลิงเป็นมีความเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตน้อยที่สุด ผู้เขียนมีความเห็นว่าสารดับเพลิงที่ใช้ฉีดท่วมทั้งห้องด้วยก๊าซ CO2 ไม่ควรใช้ในทุกกรณี หากมีติดตัง้ ใช้อยู่แนะนำให้เปลี่ยนระบบและนำออกจากอาคาร
- การออกแบบใช้สารดับเพลิงพิเศษแบบฉีดท่วมทั้ง ห้อง ตามข้อ 3 แนะนำให้ปฎิบัติ ดังต่อไปนี้
- จัดทำรายการคำนวณความเข้มข้นของสารพร้อมลงนามโดยวิศวกรเครื่องกลตั้ง แต่ระดับสามัญขึ้นไปจะต้องระมัดระวังในการคำนวณปริมาตรห้อง การวัดและคำนวณพื้น ที่จากความกว้างและยาวของห้องจำเป็นต้องหักลบปริมาตรที่สารดับเพลิงเข้าไปไม่ถึงออกด้วย เช่น เสา ผนัง ตู้หรือช่องที่ปิดมิดชิด เป็นต้นรวมทั้ง การเพิ่มปริมาตรสารดับเพลิงจากการรั่วของห้องที่ได้จากการทดสอบจริง (ไม่ควรปริมาณค่าเอง)
- การคำนวณต้องจัดทำและให้พิจารณาตรวจสอบอย่างรอบครอบและควบคุมไม่ให้ค่าความเข้มข้นของสารดับเพลิงมากเกินพิกัดที่กำหนดจนอาจเป็นเหตุให้คนเสียชีวิตได้ และต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดตามมาตรฐานในการดับเพลิงแต่ละประเภทเชื้อเพลิงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการดับเพลิง
- ให้ระบุในข้อกำหนดให้ผู้ติดตั้งต้องทำการทดสอบการรั่วของห้องป้องกันนั้น (Room Integrity Test) ก่อนส่งมอบงาน
- ให้ออกแบบระบบและเลือกใช้อุปกรณ์วัสดุต่างๆตามมาตรฐานที่ได้รับการรับรอง และตามคำแนะนำของผู้ผลิต
- ระบบตรวจจับควันไฟต้องมีอย่างน้อย 2 วงจรทำงานอิสระต่อกัน อุปกรณ์ตรวจจับของแต่ละวงจรไม่ควรติดตั้งใกล้กันมากไป และห่างกันไม่เกิน 9 เมตร สำหรับห้องขนาดใหญ่ตัง้ แต่ 100 ตารางเมตรขึน้ ไป แนะนำให้ติดตั้ง ห่างกันประมาณ 8 – 9 เมตร
- หากห้องจำเป็นต้องมีการล็อกประตูอนุโลมให้ล็อกด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าเท่านั้น และต้องติดตั้ง Break GlassManual Door Release ที่มีกล่องครอบสีเขียว ติดตั้ง ให้ใกล้กับด้ามที่เปิดบานประตูนั้น ให้มากที่สุดแต่ต้องไม่เกิน 30 ซม พร้อมป้ายชื่อและบอกวิธีการทำงานของสวิตช์ที่มีขนาดที่เห็นชัดเจนทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
และอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟในห้องนั้นๆเมื่อตรวจจับควันวงจรใดวงจรหนึ่งได้หรือคำสั่งฉีดจากทำงานแบบ
Manual Discharge จะต้องปลดล็อกประตูทุกบานแบบอัตโนมัติทันที - หากห้องมีการเปิดบานประตูค้างไว้ หรือมี Damper ในท่อลม ให้อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟในห้องนั้นๆเมื่อตรวจจับควันวงจรใดวงจรหนึ่งได้หรือคำสั่งฉีดจากทำงานแบบ Manual Discharge จะต้องสั่งให้ประตูหรือDamper ทุกบานปิดทันที และให้มีสวิตช์ปิดบานประตูด้วยมือติดตั้งบริเวณประตูนั้นๆ กรณีแบบนี้บานประตูแค่ปิดลงเพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของสารดับเพลิงเท่านั้นบานประตูยังคงสามารถเปิดเข้าออกได้ตามปกติเพื่อหนีไฟหรือเข้าไปเพื่อการดับเพลิงได้ แต่ต้องระมัดระวังในการเปิดบานประตูเข้าไปในห้องที่สารดับเพลิงได้พ่นออกมาได้ จำเป็นต้องปฎิบัติตามขั้น ตอนที่มาตรฐานกำหนดเพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรืออาจทำให้สมรรถนะการดับเพลิงลดลงได้
- ให้ออกแบบป้ายเตือนติดตั้งในห้องว่า “ห้องนี้ป้องกันด้วยสารดับเพลิง……อาจมีอันตรายถึงชีวิต ให้อพยพ
เมื่อมีสัญญาณเตือนภัย” มีขนาดและตำแหน่งติดตั้งให้เห็นชัดเจน
- ออกแบบให้มีสวิตช์ชะลอการฉีดสารดับเพลิงแบบกดค้าง ใกล้ประตูทางเข้าออกของห้องนัน้ ๆทุกแห่ง พร้อมป้ายชื่อและบอกวิธีการทำงานของสวิตช์ที่มีขนาดที่เห็นชัดเจน และเมื่อปล่อยมือให้เวลานับถอยหลังจากศูนย์ใหม่เสมอ โดยให้ตั้งเวลานับถอยหลังไว้ 60 วินาที
- ให้ออกแบบเสียงสัญญาณเตือนภัยวงจรแรกด้วย Alarm Bell และวงจรที่สองด้วย Alarm Speaker เป็นเสียงคำพูดประกาศที่อัดไว้ล่วงหน้า สลับกับเสียงไซเรน และมี Strobe Light กระพริบด้วย คำพูดให้มีข้อความดังนี ้“ระบบดับเพลิง…กำลังนับเวลาถอยหลังเพื่อฉีดออกมาท่วมทัง้ ห้อง ให้อพยพออกจากห้องนี้
ทันที….Fire suppression system is counting down for releasing gas suppression agent throughout this room” - เมื่อพ่นสารดับเพลิงแล้ว ต้องจัดให้มีป้ายแสดงข้อความด้านทางเข้าห้องทุกแห่ง พร้อมไฟเตือนว่า “ห้องนี้ได้พ่นสารดับเพลิงแล้ว ….. Gas suppression agent has been released or discharged”
ข้อแนะนำสำหรับผู้ติดตั้ง และผู้ควบคุมงาน ระหว่างการก่อสร้าง
- ผู้ติดตั้งและผู้ควบคุมงาน จะต้องดำเนินการตามรูปแบบและข้อกำหนดของผู้ออกแบบ และติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐาน
- ก่อนดำเนินการก่อสร้างใดๆในห้องที่มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยสารดับเพลิง Aerosol หรือสารสะอาดใดๆก็ตาม ผู้ติดตั้ง และผู้ควบคุมงาน จะต้องตรวจสอบและขออนุญาตในการปิดระบบพ่นสารดับเพลิงหรือ Disable ระบบเดิมก่อน รวมทั้ง การครอบปิดอุปกรณ์ตรวจจับควันในบริเวณนั้นทั้ง หมดก่อน การใช้เครื่องดูดฝุ่นเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาการตรวจจับจากอุปกรณ์ตรวจจับควันได้ ในทางกลับกันอาจส่งผลให้มีการตรวจจับฝุ่นได้ง่ายขึ้น ด้วย เพราะเครื่องดูดฝุ่นด้านพ่นลมออกผ่านแผ่นกรอง จึงทำให้ฝุ่นที่ออกมาจะละเอียดมากและฝุ่นกระจายออกไปได้ง่าย และขณะปิดระบบชั่วคราวจะต้องกำหนดวิธีการป้องกันอย่างอื่นมาทดแทนจนกว่าจะปฏิบัติงานแล้วเสร็จ
- เมื่อตรวจจับควันไฟได้นอกจากแผงควบคุมจะต้องส่งสัญญาณเตือนภัยให้ผู้อยู่ในห้องที่จะมีการพ่นสารดับเพลิง
ทราบทันที จะต้องมีการเชื่อมโยงสัญญาณเข้าระบบส่วนกลางของอาคารด้วย
- ผู้ติดตั้ง จะต้องทดสอบห้องรั่ว Room Integrity Test ก่อนส่งมอบงาน เพื่อให้สอดคล้องกับรายการคำนวณ
- ผู้ติดตั้งจะต้องจัดทำรายการคำนวณความเข้มข้นของสารพร้อมลงนามโดยวิศวกรเครื่องกลระดับสามัญขึ้นไปตามปริมาตรของสารดับเพลิงที่ติดตั้ง จริง และอัตราการรั่วของห้องจากการทดสอบจริง เพื่อยืนยันระดับความเข้มข้นจริงเมื่อฉีดสารดับเพลิงก่อนส่งมอบงาน
- คนงานที่ปฎิบัติงานต้องมีความรู้เรื่องความปลอดภัยด้วยการอบรมการเข้าปฎิบัติ และมีอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลหรือ PPE ตามลักษณะงานที่กำลังปฏิบัติงานอยู่
- ผู้ติดตั้งต้องมีการส่งมอบคู่มือการใช้งานในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน รายการคำนวณและแบบที่มีการลงนามโดยวิศวกรเครื่องกลระดับสามัญขึ้น้ไป
ข้อแนะนำสำหรับผู้บริหารหรือผู้ดูแลอาคาร ในการใช้งานอาคาร
- ผู้บริหารหรือผู้ดูแลอาคาร จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยสารสะอาดให้สามารถพร้อมในการทำงานได้ตลอดเวลา
- ผู้บริหารหรือผู้ดูแลอาคาร จะต้องจัดให้มีการทดสอบและบำรุงรักษาระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยสารสะอาดอย่างสมํ่าเสมอ ตามมาตรฐานกำหนด เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- หากบานประตูต้องเปิดค้างไว้ขณะใช้งานปกติ จะต้องมีระบบควบคุมสั่งให้ปิดบานประตูอัตโนมัติและสวิตช์ปิดบานประตูด้วยมือติดตั้ง บริเวณประตูนั้นๆเพื่อให้การรักษาความเข้มข้นไว้ตามเวลาที่กำหนดได้ แต่ประตูต้องไม่ปิดล็อกตายเพื่อผู้ที่อยู่ในห้องเกิดเหตุสามารถหนีออกได้และเจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดับเพลิงและกู้ภัยได้
- หากประตูจำเป็นต้องมีการล็อก จะต้องมีระบบควบคุมสั่งให้ปลดล็อกประตูทุกบานอัตโนมัติ เมื่อระบบตรวจจับควันไฟทำงานหรือมีคำสั่งพ่นสารดับเพลิงจากทำงานด้วยสวิตช์ Manual Discharge
- ผู้บริหารหรือผู้ดูแลอาคาร จะต้องจัดให้มีการทดสอบห้องรั่ว Room Integrity Test เป็นประจำหรืออย่างน้อย 1ครัง้ ต่อปี
- ผู้ปฏิบัติงานในพืน้ ที่ต้องได้รับการอบรมให้ทราบถึงคุณลักษณะวิธีการทำงานของระบบและขั้นตอนเมื่อเกิดเหตุ
- ผู้ปฏิบัติงานในพืน้ ที่ต้องมีการฝึกซ้อมทบทวน อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อปี
- ผู้ปฎิบัติงานที่เป็นบุคลากรใหม่ต้องได้รับการอบรมวิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ จากผู้บริหารอาคารหรือผู้แทนที่มีความรู้ความชำนาญ
- ผู้เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ รวมถึงบุคคลภายนอก เช่น ผู้เข้ามาปรับปรุงก่อสร้างต้องได้รับการอบรมวิธีการปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น และขณะปฏิบัติงานต้องมีผู้ควบคุมงานอยู่ด้วยตลอดเวลาเพื่อแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุการ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น
- ขณะดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างที่ทำให้เกิดฝุ่นได้ภายในห้องที่ใช้สารดับเพลิงแบบนี้ จะต้องทำการปิดระบบดับเพลิงอัตโนมัตินั้นก่อน และหาวัสดุครอบปิด detector ในบริเวณนั้นๆก่อน เมื่อเสร็จงานในแต่ละครั้งให้ทำการเปิดระบบดับเพลิงอัตโนมัติและนำวัสดุครอบปิด detector ออก
- ผู้ที่มาติดต่อหรือเข้ามาในพื้นที่ชั่วคราว จะต้องได้รับคำชี้แจงเกี่ยวกับระบบดับเพลิงอัตโนมัติ และเข้าใจวิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น รวมทั้ง ข้อแนะนำ ข้อควรระวัง และเส้นทางอพยพ
- ผู้บริหารหรือผู้ดูแลอาคาร จะต้องบันทึกข้อมูลการติดตั้ง ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยสารดับเพลิงต่างๆลักษณะนี้พร้อมแผนปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ เพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูลส่วนกลาง (ศูนย์บัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉิน) และที่ห้องช่างประจำอาคาร
- การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในห้องภายหลังการฉีดสารดับเพลิงแล้ว ให้ผู้เข้าช่วยเหลือ จะต้องสวมหน้ากากและใส่เครื่องช่วยหายใจชนิดถังอัดอากาศ (SCBA) ก่อนเข้าพื้นที่เกิดเหตุ และมีเครื่องวัดระดับออกซิเจนแบบพกพา