บ่อยครั้งที่ ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา หรือผู้ควบคุมงาน มักจะใช้วิธีการดูจาก ค่าRated head ของ Fire pump เป็นตัวกำหนดความดันสูงสุดที่อุปกรณ์ดับเพลิงจะรับได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงมีมากกว่านั้น
สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ Fire Pump Curve โดยเอาค่าความดัน ณ จุดสูงสุด มาเป็นตัวกำหนด ซึ่งในเชิงการออกแบบจะพบว่า ยังไม่สามารถระบุ Pump Curveได้ จนกว่าจะมีการสั่งซื้อ หรือติดตั้งจริง
แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ออกแบบควรพิจารณาคือ ค่าความดันสูงสุดที่ Pump Curve จะมีค่า มากกว่าค่า Rated head Pump ซึ่งตามมาตราฐาน NFPA 20-6.2.2(2019) กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 140% ของ rated headสำหรับ Centrifugal Pump ดังนั้น ในการใช้งาน ควรตระหนักถึงค่าความดันส่วนเกินนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบมากต่อระบบ ประสบการณ์ในการพิจารณาค่า safety factor จึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการกำหนดค่าความดันสูงสุดที่เหมาะสม และปลอดภัยต่อการใช้งาน
ดังนั้น ความดันสูงสุดที่อุปกรณ์ดับเพลิงจะทนได้ = ความดันสูงสุดของ Fire Pump Curve (churn pressure)+ Maximum static suction pressure
ซึ่งจะมากกว่าค่า Rated head ของ Pump มากๆ การเลือกอุปกรณ์ดับเพลิงที่ทนความดันต่ำกว่าค่าที่เป็นจริง เช่น หัวsprinkler วาล์ว อาจทำให้อุปกรณ์ที่ใช้อาจเกิดความเสียหาย หรือทำให้อายุการใช้งานที่สั้นลงกว่าปรกติ
นอกจากนี้ การออกแบบ ยังต้องคำนึงถึง การขยายตัวของความดันภายในเส้นท่อ โดยเฉพาะเมืองร้อน อย่างประเทศไทย แม้ว่าทางทฤษฎี ในระบบจะมีการติดตั้ง อุปกรณ์ ไล่อากาศภายในท่อ(automatic air vent) แล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริงยังคงมีอากาศบางส่วนที่ยังค้างอยุ่ และสามารถสงผลกระทบต่อความดันภายในท่อได้
จากรูป จะเห็นผลกระทบจากการขยายตัวของความดันภายในท่อระบบsprinkler เมื่อ Ambient temperature เพิ่ม ทำให้ Pressure gauge ด้าน down stream ของ Wet Alarm Valve มีความดันสูงกว่าที่ up stream
เอกสารอ้างอิง
- NFPA13 -3.3.216(2019) Standard for the Installation of Sprinkler Systems
- NFPA14-3.3.21(2015) Standard for the installation of standpipe and hose systems
- NFPA20-4.7.7(2019) Standard for the Installation of Stationary Pumps for Fire Protection
Khun Pramuk Lipimongkol – Senior Engineer