บทเรียนการเกิดเพลิงไหม้ในอดีต

ในยุคแรกที่ยังไม่มีการออกแบบตามมาตรฐานความปลอดภัย ช่วงปี พ.ศ. 2388 ถึง พ.ศ. 2518 มีเหตุการณ์สำคัญดังตาราง

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบ  “ FIRE AND LIFE SAFETY” โดยกฎหมายและมาตรฐานตาม NFPA 101 สำหรับโรงมหรสพ ดังนี้

1. โครงสร้างหลักของอาคารให้ก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟ ตามข้อกำหนดความหนาน้อยสุดของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริมหรือคอนกรีตหุ้มเหล็ก ซึ่งลักษณะและคุณสมับติตาม กฎกกระทรวง ฉบับที่ 60

2.ผนังโดยรอบโรงมหรสพจะต้องมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง และประตูทางออกภายในโรงมหรสพมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที ตามมาตรฐาน NFPA 101-2018

ทางหนีไฟจะต้องมีส่วยปิดล้อมที่ไม่มีช่องให้ไฟหรือควันผ่านเข้ามาได้และส่วนปิดล้อมต้องมีอัตราทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชม.

สำหรับลักษณะเวทีแบบมีกรอบหรือโพรซีเนียม (Proscenium Stage) ให้มีระบบม่านกันไฟไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ลงมาปิดเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้เพื่อกั้นแยกระหว่างเวทีและที่นั่งคนดู ตามมาตรฐาน NFPA 101-2018

3.วัสดุที่ใช้ภายในโรงมหรสพ และทางเดิน จะต้องเป็นวัสดุที่ไม่มีส่วนใดติดไฟหรือลุกไหม้เมื่อถูกไฟที่อุณหภูมิไม่น้อยกว่า 750 องศาเซลเซียส ตามมาตรฐาน ASTM E84 และมีอัตราการลามไฟไม่เกิน(Flame Spread) 75 และอัตราการกระจายควันไม่เกิน(Smoke Developed) 450 ตามมาตรฐาน NFPA 101-2018

4.การวิเคราะห์เส้นทางหนีไฟและการคำนวณระยะเวลาอพยพหนีไฟ (Means of Egress Analysis and Evacuation Time Calculation)

4.1 ความกว้างสุทธิประตูหนีไฟภายในโรงมหรสพ กำหนดอย่างน้อย 1500 มม.(ตามกฎกระทรวง ประเภทและระบบความปลอดภัยของโรงมหรสพ พ.ศ. 2550)

4.2 ความกว้างสุทธิบันไดหนีไฟ กำหนดอย่างน้อย 1120 มม. กรณีจำนวนผู้อพยพในบันไดไม่เกิน 2000 คน หากจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 2000 คนใช้ความกว้าง 1420 มม. และกำหนดให้มีความสูงลูกตั้ง 10-18 ซม. ความลึกของลูกนอนไม่น้อยกว่า 28 ซม.(ตามมาตรฐาน NFPA 101-2018)

4.3 ความกว้าง Corridor กำหนดอย่างน้อย 1525 มม. (ตามมาตรฐาน NFPA 101-2018)

4.4 ราวจับ (Handrails) มีขนาด 3.20 – 5.0 ซม. และความสูง 865 – 965 ซม. กำหนดให้ติดตั้งบริเวณบันไดหนีไฟและทางลาด ทั้ง 2 เลน

4.5 ราวกันตก (Guardrails) ความสูงไม่เกิน 1065 ซม. กำหนดให้ติดตั้งบันไดหนีไฟและทางลาดเอียงเฉพาะเลนด้านเปิดโล่ง

4.6 ทางลาดเอียง (Ramp) ต้องมีความลาดเอียงไม่เกิน 1:12

4.7 ระยะห่างระหว่างที่นั่งไม่น้อยกว่า 305 มม. กรณีที่จัดให้มีที่นั่งติดต่อกันตลอดแถวไม่เกิน 14 (หากจัดที่นั่งเกินจะต้องคำนวณค่าตัวแปร เพิ่มระยะห่างมากขึ้น ตามมาตรฐาน NFPA 101-2018)

4.8 ทางเดินตามขวางทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1500 มม. ตามกฎกระทรวง ประเภทและระบบความปลอดภัยของโรงมหรสพ พ.ศ. 2550 ส่วนความกว้างขั้นต่ำ ตาม NFPA 101-2018 ใช้ค่าตัวแปร 7.6 และถ้าไม่มีราวจับ ต้องเพิ่มความกว้าง 25 %

4.9 จำนวนทางออกหรือประตูทางออก

4.9.1 ความจุคน < 50 ต้องมีอย่างน้อย 2 ทางออก

4.9.2 ความจุคน 51 – 250 ต้องมีอย่างน้อย 3 ทางออก

4.9.3 ความจุคน 251 – 600 ต้องมีอย่างน้อย 4 ทางออก

4.9.4 ความจุคน > 601 ต้องมีอย่างน้อย 5 ทางออก

4.10  คำนวณเวลาอพยพออกจากอาคารแบบ Hydraulic Analogy (ขอกล่าวในบทความถัดไป)

5. ระบบป้องกันอัคคีภัย

5.1 มีระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองสำหรับ Emergency exit sign  บริเวณ ห้องโถง ทางเดิน บันได บันไดหนีไฟ แยกอิสระจากระบบไฟฟ้าปกติ และสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติไม่น้อยกว่า 1 ชม.

5.2 มีระบบสัญญาณแจ้งเตือนเพลิงไหม้และไฟส่องสว่าง (Emergency Lighting) ทางเดิน ห้องโถง บันได บันไดหนีไฟ

5.3 มีระบบป้องกันเพลิงไหม้ ประกอบไปด้วยท่อจ่ายน้ำดับเพลิง ที่เก็บน้ำสำรอง หัวรับน้ำดับเพลิง  ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง

5.4 มีเครื่องดับเพลิงแบบมือถือหรือเครื่องดับเพลิงยกหิ้วที่มีความสามารถไม่น้อยกว่า 4A และ10B มีขนาดไม่น้อยกว่า 15 ปอนด์ ตำแหน่งติดตั้งตามมาตรฐาน กฎกระทรวง ประเภทและระบบความปลอดภัยของโรงมหรสพ พ.ศ. 2550 ตามรูป

5.5 มีระบบควบคุมควัน

5.5.1 ระบบอัดลมภายใน บันไดหนีไฟและลิฟท์

5.5.2 ระบบควบคุมการแพร่กระจายควันและระบบระบายควัน กรณีโรงมหรสพที่ตั้งอยู่ในอาคารตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป

6. แผนผังทางเดินจากโรงมหรสพไปยังบันไดหนีไฟ

REFERENCE

  • 2018 Edition. NFPA 101 , Life Safety Code, National Fire Protection Association
  • กระทรวงมหาดไทย. 2550. กฎกระทรวง ประเภทและระบบความปลอดภัยของโรงมหรสพ พ.ศ. 2550.
  • กระทรวงมหาดไทย. 2549. กฎกระทรวง ฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522.
  • กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย. คู่มือปฏิบัติการควบคุมโรงมหรสพ.
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. คู่มือการออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับคนพิการ และคนทุกวัย.
  • นางสาวขนิษฐา ส่งสกุลชัย 2554. การศึกษาระยะเวลาการอพยพออกจากโรงภาพยนตร์ประเภทรวมหลายโรง ในเขตกรุงเทพฯ.วิทยาลัยนิพนธ์ปริญญาโท.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Mr. Adisorn Rukphongthai – Engineering Life Safety System